- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
27 ก.ค. 2558
เรียนโหราศาสตร์ จากวรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์/๓๐
โดย อาจารย์แอน
พิเภก
มาถึงบุคคลสำคัญของเรา ที่ไม่พึงมองข้ามเป็นอันขาด ท่านนั้น คือ พิเภก น้องของทศกัณฐ์ เป็นยักษ์ แต่มาอยู่กับพระราม
ถ้าใครดูโขนประจำ จะเห็นฝ่ายพระราม พระลักษณ์ พลวานร และจะมียักษ์แฝงในกองทัพ ที่ไม่รบ แต่คอยออกมาแก้ปัญหาให้กองทัพฝ่ายพระรามทุกครั้ง สัญลักษณ์ของยักษ์พิเภก คือ จะแขวนกระดานชนวนไว้ข้างกาย ดังภาพ ประวัติของพิเภก ที่ควรรู้พอเป็นสังเขป
พิเภก มีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน้ำเต้า เป็นน้องของทศกัณฐ์ และกุมภกรรณ อดีตชาติ เป็นพระเวสสุญาณเทพบุตร พระอิศวรสั่งให้ไปจุติเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับทศกัณฐ์เพื่อเป็นไส้ศึกคอยบอกความลับต่าง ๆ ให้แก่พระราม พร้อมประทานแว่นวิเศษติดที่ดวงตาขวา มองเห็นได้ทั้งสามโลก แม้กระทั่งอดีตและอนาคต พิเภกโดนทศกัณฐ์ขับออกจากกรุงลงกา เพราะไปแนะให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงเข้าร่วมกับฝ่ายพระราม ทำหน้าที่เป็นโหราจารย์
พิเภกมีส่วนช่วยในกองทัพพระรามเป็นอันมาก เป็นผู้บอกกลศึกและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายทศกัณฐ์ให้แก่พระราม เมื่อทศกัณฐ์ใกล้ตายเพราะถูกศรพรหมาศของพระราม ทศกัณฐ์สำนึกได้ จึงเรียกพิเภกเข้าไปสั่งสอน โดยมีใจความหลักว่า ให้ประพฤติตนเป็นธรรม อย่าเกเรเหมือนตน ซึ่งบทนี้ถูกเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" จากนั้น พิเภกได้รับแต่งตั้งจากพระรามให้เป็น "ท้าวทศคิริวงศ์" ครองกรุงลงกาแทนทศกัณฐ์สืบไป
ในรามายณะ มีชื่อว่า "วิภีษณะ"
ในบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ เชื่อกันว่า พิเภก คือ พระองค์ท่าน เพราะพระองค์ท่านมีความรู้ด้านโหราศาสตร์ และพิชัยสงครามการรบ ทั้งทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้า
ดังนั้นเวลาเราไหว้ครูโหราศาสตร์ เราไหว้เคารพนบนอบพิเภก และบางแห่งก็ตั้งพระรูปพระองค์ท่านโดยตรง
ไม่เพียงแต่วิชาโหราศาสตร์เท่านั้นที่เราจะเรียนรู้ ควรศึกษา กลศึก และการแก้กลศึก ตลอดจนวิธีการทำนายทายทักของพิเภกด้วย
ในรามเกียรติ์ ไม่ได้มีเฉพาะแต่พิเภกเท่านั้น ยังมีขุนโหรอื่นๆ ด้วย จึงมักได้ยิน คำกลอนที่เอ่ยถึง "ขุนโหรทั้งสี่" ด้วย
เอาละเอ่ยถึงท่าน ก็เหมือนได้ไหว้ครูไปแล้วด้วยความเคารพ วิชาจะได้เข้าหัว ใครไม่เคารพครูบาอาจารย์ เห็นชัดๆ วิชาจะไม่เข้าหัว เรียนอะไรไป พอกลับบ้านวิชาไม่ได้กลับด้วย อยู่ที่อาศรมครูบาอาจารย์นั่นแหละ ..จำไว้นะ ไม่ของเล่น
ชาวนาฏศิลป์ เคารพครูบาอาจารย์ ทุกปีจะไหว้ศีรษะครูของโขน รวมถึงศีรษะของพิเภกด้วย
ชาวโหราศาสตร์ ไหว้ครู ก็ต้องไหว้จริงๆ อย่าเป็นไสยศาสตร์ เป็นการปรามาสครูบาอาจารย์
เอ้าละสอนกึ่งแช่งมาพอควร เข้าเรื่องเสียที
คราวหน้านะ ยายมาสอนต่อ