ฮวงจุ้ย
- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
ผลงานและบทความพิเศษของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
การจัดบ้านสำหรับคนธาตุไฟ ตอนที่ ๑
17 ส.ค. 2560
17 ส.ค. 2560
ธาตุไฟ คือบุคคลที่เกิดตามปี พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๔๙๐ (จอ – กุล), ๒๔๙๙ – ๒๕๐๐ (วอก – ระกา), ๒๕๐๙ – ๒๕๑๐ (มะเมีย – มะแม), ๒๕๑๙ – ๒๕๒๐ (มะโรง – มะเส็ง), ๒๕๒๙ – ๒๕๓๐ (ขาล – เถาะ), ๒๕๓๙ – ๒๕๔๐ (ชวด – ฉลู), ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ (จอ – กุล) โดยดูจากปี พ.ศ. ที่เกิดและนับหลังตรุษจีนแล้ว คือ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หรือขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๓ ทั้งหมดนี้ มีธาตุไฟเป็นธาตุประจำตัว
“ไฟ” จะมีความหมายในเรื่องของ “เหตุผล การแสดงออก และมารยาท”
ถ้าเราเป็นบุคคลที่ธาตุไฟน้อยไปหน่อย ก็จะเป็นคนที่เก็บงำความรู้สึกของตนเอง และเก็บความโกรธเข้าไปในตัวเอง คือโกรธอยู่ภายใน จึงดูเหมือนเป็นคนเฉื่อยชา ยุไม่ขึ้น อดกลั้น ไม่แสดงออก คนเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ในเรื่องของความเครียด และกระเพาะอาหาร ลักษณะนี้เพราะไฟน้อย ทำให้สุขภาพไม่ดี ต้องระวัง
ทั้งนี้อาจหมายความถึงว่า เขาอาจจะอยู่ในบ้านที่ใช้ไฟสีเหลือง หรือที่เรียกว่า “ไฟหยิน” ไฟมืด ใช้ไฟ Dimmer (ไฟหรี่) บ้านมีหลังคาต่ำกว่ามาตรฐาน เพดานเตี้ย หรือบ้านที่อยู่ต่ำกว่าถนน หรือว่าไฟที่บันไดนั้นมืดตลอด อับ ทึบ หน้าต่างน้อย
บ้านเหล่านี้ คนธาตุไฟไปอยู่ จะยังผลให้เป็นคนที่เฉื่อย แล้วอดกลั้น อดทน เก็บความโกรธ อันนี้จะมีปัญหาลงที่สุขภาพ อาจจะปวดศีรษะบ่อย หรือว่าหน้าที่การงานตกไปเรื่อยๆ เหมือนไฟจะดับ ไฟจะตกน้ำ ต้องปรับบ้านให้มีลักษณะความสดใสด้วยธาตุลม คือมีกระดิ่งลม แสงสว่าง คือจัดให้บ้านดูโล่ง ไฟที่บันไดต้องสว่าง เปลี่ยนไฟที่เป็น Dimmer เป็นไฟสีขาว
และชั้นสองต้องใช้งาน เพราะชั้นสองคือชั้นธาตุไฟ (ชั้นลอยถือว่าเป็นชั้นที่สองตามหลักฮวงจุ้ย) อย่าให้ไฟขาดตรงชั้นนั้น อย่าให้ไฟไม่พอ ตรวจตราไฟภายในบ้านให้ดี นี่คือการจัดบ้านแบบให้ไฟสมดุลกับตัวเรา
แล้วตัวเราก็ต้องประสานบุคคล โดยจะต้องเป็นคนมีเหตุผล ไม่ว่าจะทำอะไร อย่าไปคิดแบบใจน้อย ให้ใช้เหตุใช้ผลในการพูด มีหลักการ แล้วก็ต้องเป็นคนมีมารยาท ไม่ใช่ว่าเป็นคนพูดน้อยแล้วไม่พอใจก็สะบัดหน้าหนี นี่เป็นอาการที่มีธาตุไฟน้อยไปหน่อย ทำให้เรามีปัญหากับชีวิตเสมอๆ หน้าที่การงานตก หางานทำไม่ค่อยได้
ไฟใช้งาน ไฟพอสมควร เราสามารถสังเกตตนเองได้ ถ้าหากว่าเราเป็นคนธาตุไฟแล้ว เรามักคำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่น มีสำนึกถึงในเรื่องของความยุติธรรม (ทั้งสิ่งที่คนอื่นทำและเราทำ ว่ามันยุติธรรมหรือไม่) นึกถึงใจคนอื่น มีวิจารณญาณในการวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง รู้กาลเทศะว่าควรหยุดเมื่อไหร่ สรุปแล้ว คือถึงพร้อมด้วยเหตุและผล การแสดงออก กาลเทศะ และมีมารยาทนั่นเอง ลักษณะแบบนี้ คนๆ นั้นจะเจริญ เราเรียกว่า “ไฟปานกลาง”
บ้านที่มีลักษณะแบบนี้ มักจะมีที่โล่งอยู่ในบ้าน เรียกว่ามี “หมิงถัง” เช่น เปิดประตูเข้ามาแล้ว รู้สึกว่าปลอดโปร่งตั้งแต่แรกเข้าบ้าน หลังคา เพดาน อยู่ในระดับที่เหมาะสม หน้าต่าง บานประตู เปิดสว่างเข้ามาพอสมควร มีสิ่งที่เคลื่อนไหว จัดบ้านให้มีชีวิตชีวา ก็จะเป็นการเสริมธาตุไฟให้ดีขึ้น
ส่วนบุคคลที่มีธาตุไฟมากเกินไปจนล้น อาจจะเป็นคนที่มีบ้านสว่างมาก ประตูหน้าต่างโล่ง หน้าต่างมีเยอะมาก (ตามหลักวิชา ๑ ประตูต่อหน้าต่าง ๓ บาน) มีแสงแดดสาดส่อง บ้านมีความเป็นหยางอย่างรุนแรง แล้วตนเองก็เป็นธาตุไฟด้วย อย่างนี้จะส่งผลเพราะธาตุไฟแรงเกินไป
คือจะเป็นคนพูดจาก้าวร้าว เสียงดัง ชอบทำตัวเป็นเจ้าใหญ่นายโต ชอบสั่งคนโน้นคนนี้ หรือทำตนเป็นผู้พิพากษา แต่ว่าเป็นคนที่ขาดสายตาอันยาวไกลและความยับยั้งชั่งใจ เพราะฉะนั้น คำวิพากษ์วิจารณ์จะจับต้นชนปลายไม่ได้ ขาดความอดกลั้น มักขี้โกรธ ขี้บ่น และไม่พึงพอใจกับอะไรเลย
เราต้องเสริมด้วยธาตุดิน ในครัวควรใช้เครื่องปั้นดินเผา หรือว่ามีเซรามิค วัตถุมงคล กระดิ่งลมที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผา เพื่อเป็นการทำให้ไฟไปลงที่ดินเสียบ้าง ก็จะเป็นการเสริมสร้างความหนักแน่นและมั่นคงขึ้น จะได้ไม่บ่นมาก
บทความที่เกี่ยวข้อง
โหราศาสตร์แนะแนว ตอนที่ ๑๓ - ราศีต่างๆ ๒ โหราศาสตร์แนะแนว ตอนที่ ๑๒ - ราศีต่างๆ ๑ อุปนิสัยของคนเกิดปีระกา..โดยอาจารย์ษณอนงค์(อาจารย์แอน) คำแสนหวี โหราศาสตร์แนะแนว ตอนที่ ๒๓ - ภพปุตตะ การสังเกตสภาพแวดล้อมตามหลักพิชัยสงคราม ตอนที่ ๓ การสังเกตสภาพแวดล้อมตามหลักพิชัยสงคราม ตอนที่ ๒ การจัดบ้านสำหรับคนธาตุไฟ ตอนที่ ๒ การจัดบ้านสำหรับคนธาตุไม้ ตอนที่ ๒ การจัดบ้านสำหรับคนธาตุน้ำ ตอนที่ ๒ เกร็ดฮวงจุ้ยนำไปใช้ได้อย่างไร