ฮวงจุ้ย
- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
ผลงานและบทความพิเศษของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๑
23 ต.ค. 2559
23 ต.ค. 2559
โดยส่วนใหญ่จะจัดวางตามลำดับ นับไล่เรียงจากประตูทางเข้า จนถึงลำดับขั้นสูงสุดเรียงตามความสำคัญ และการอธิบายครั้งนี้ขอยก วัดต้าฝอฉางเยี่ยน ที่ง้อไบ๊ เป็นตัวอย่าง
ศาสนาพุทธเริ่มเข้ามาแพร่หลายในประเทศจีนในสมัยฮั่นหมินตี้ โดยเริ่มต้นมีพระภิกษุจากฝั่งอินเดียเข้ามา นำพระคัมภีร์และพระพุทธรูปเดินทางมาถึง ทางราชวงศ์จีนได้นำมาพักที่รับแขกต่างเมือง คือที่วัดห่านป่า แต่เนื่องจากสมัยนั้น วัดห่านป่าเป็นที่รับแขกเมืองชั่วคราว ภายหลังจึงมีการสร้างวัดม้าขาวที่เมืองลั่วหยาง และต่อมาถูกใช้เป็นที่แปลพุทธคัมภีร์ และประกาศศาสนา วัดม้าขาวนี้จึงถือว่าเป็นวัดแห่งแรกในประเทศจีน
หลังจากที่พุทธศาสนาเผยแพร่ในจีน จากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือ ก็ปรากฏวัดวาอารามต่างๆนับไม่ถ้วน หลังจากผ่านวันเวลามานาน วัดคือที่บูชา พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
- พระพุทธ ถือพระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นหลัก
- พระธรรม ถือพระไตรปิฎก กับอีกสิบสองปกรณ์เป็นหลักในการศึกษา
- พระสงฆ์ คือผู้ที่ศึกษาและถือปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา
แต่ด้วยกาลเวลาที่ผ่านมา ภูมิประเทศ ถิ่นฐานที่อาศัย สถานที่ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้มีการสักการะที่ต่างกันไป แต่การบูชาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจวัฒนธรรม และเข้าใจวัดวาอารามมากขึ้น ลองดูตัวอย่างหลักการการสร้างวัด จากวัดต้าฝอฉางเยี่ยน
ด้านหน้า มีกำแพงที่สูงไม่มาก สามารถยืนเขย่งและมองออกจากข้างในเห็นข้างนอก ด้านข้างมีช่องให้เดินเข้าออก ซ้ายและขวา มีตัวอักษรสองตัว เขียนไว้ว่าทางเข้า กำแพงนี้มีไว้บังสายตา ในแง่ฮวงจุ้ย ปิดไว้ไม่ให้ชงกันระหว่างนอกกับใน เมื่อเดินอ้อมกำแพงเข้ามา จึงสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เมื่อผ่านกำแพงมาเข้ามาจะพบทวารทั้งสาม คือประตูบานใหญ่สามบาน
ประตูทั้งสามบาน
ประตูกลางคือประตูแห่ง สุญญตา หมายถึง ภาวะจิตดั้งเดิมของมนุษย์
ประตูซ้ายคือ นิรลักษณ์ หรือไร้รูปลักษณ์
ประตูขวาคือ นิรกรรม อกรรม หรือ ไร้กรรม คือการกระทำที่ไม่มีการเติมเสริมแต่งอะไร กลับไปสู่ความว่าง
คำเรียกประตู พ้องเสียงกับคำว่า ซา ที่แปลว่า สาม บางที่จึงเรียกประตูแห่งขุนเขา วัดต่าง ๆ จึงมักซ่อนตัวอยู่ในขุนเขา เวลาเรามาวัด จึงเปรียบเหมือนเป็นการเดินจากฝ่ายโลกีย์เข้าไปสู่ฝ่ายธรรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
การจัดหิ้งพระ พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ การถวายสิ่งของในพุทธศาสนา แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๖ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๕ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๔ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๓ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๒ พุทธคีรีทั้ง ๔ ในประเทศจีน