เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา

 

แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๖
12 ธ.ค. 2559

 

ในพระอุโบสถวัดจีน เราจะเห็นพระพุทธเจ้าสามพระองค์ ซึ่งมีความหมายดังนี้
 
พระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า สัมโพคะกาย คือ คือภาคบนสวรรค์ก่อนลงมาบนโลกมนุษย์
พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง คือ นิรมานกาย คือ ภาคที่ลงมาบำเพ็ญเพียร
พระพุทธเจ้าองค์ที่สาม คือ ธรรมกาย คือภาคที่ได้สำเร็จธรรมตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
 
ที่ชาวจีนเรียกง่ายๆว่า พระพุทธเจ้าสามองค์ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ความจริงมีความหมายดังที่กล่าวมา
 
 
สมันตภัทร, กวนอิม, อวโลกิเตศวร, มัญชุศรี, มหายาน, กษิติครรภ์, โพธิสัตว์, ศากยมุนี, สัมโภคกาย, นิรมานกาย, ธรรมกาย
 
 
ด้านหลังถัดจากพระอุโบสถไป คือ หอพระไตรปิฎก  ตรงกับภาษาจีนว่า ฉางจิง คือ เก็บซ่อน หรือ เก็บรักษาไว้ เก็บพระสุตันตปิฎก พระธรรมปิฎก พระอภิธรรม และเก็บรักษาพระไตรปิฎกทั้งหมด ชั้นบนสุดมีห้องอ่านหนังสือสำหรับพระสงฆ์ด้วย ชั้นล่างเป็นห้องบรรยายธรรมของเจ้าอาวาสหรือตัวแทนของเจ้าอาวาสเท่านั้น หรือห้องทำพิธีถ่ายทอดธรรมให้ศิษย์เท่านั้น
 
ด้านซ้ายจากพระอุโบสถไป คือสถานที่ปฏิบัติสมาธิ เรียกว่าธรรมจักษุครรภะ คือไปรักษาความสงบของใจที่ห้องสมาธิ ปัจจุบันพระที่เรียนที่วิทยาลัยสงฆ์ต้องไปเข้าปฏิบัติสมาธิทุกวัน ตอนเวลาหนึ่งทุ่มห้าสิบ วันละหนึ่งชั่วโมง มีรูปพระโพธิธรรม ผู้ตั้งนิกายเซนในสมัยฮั่นหวู่ตี้  กษัตริย์ถามท่านว่า เราทำบุญสร้างวัดวาอารามถวายทานไว้มากมาย ได้กุศลแค่ไหน พระท่านตอบว่าไม่ได้เลย เพราะคิดแต่ว่าทำแล้วได้อะไร จึงไม่มีกุศลเลย หลังจากนั้นท่านจึงข้ามแม่น้ำไปบำเพ็ญธรรม หันหน้าเข้าหาผนังถ้ำที่วัดเส้าหลิน 
 
ถ้าเรามองภาพรวมทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นยุคของพระโพธิสัตว์ตามกำเนิด และทางวัดจะถือพระอุโบสถเป็นตำแหน่งใหญ่ เป็นที่สูงสุด และโดยปกติก็จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดของวัดไว้ที่พระอุโบสถ ด้วยเหตุที่ว่า พระบรมศาสสดาโปรดอยู่ในโลกธาตุแห่งนี้ ผู้เป็นต้นกำเนิดของพระธรรมที่ยังหลงเหลือให้ศึกษาในปัจจุบัน และตำหนักอื่น ๆ ก็จะขนาดเล็กลดหลั่นกันลงมา แสดงความสำคัญหลักกับรองให้เห็น หอพระไตรปิฎกก็คือ ที่รวบคำสอนของพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าไว้ ถือว่าเป็นรัตนอันสูงสุดของสาธุชนทั้งหลาย จะถูกเก็บไว้ในหอสุดท้าย และอยู่ในตำแหน่งสูงที่สุดด้วย
 
ส่วนห้องทั่ว ๆ ไป คือห้องฉัน ห้องอาหาร ห้องสมาธิ กุฎิพระ  ขนาดและจำนวนห้องจะไปเป็นตามกำลังทรัพย์ของแต่ละที่   1 ห้องต่อ 1 รูป เพราะสะดวกในการฝึกด้วยตนเอง
 
ส่วนจำนวนพระพุทธรูป แต่ละวัดก็จะแตกต่างกัน เป็นไปตามจำนวนพระพุทธรูปที่ต้องการบูชา ขึ้นกับว่ามีที่ดินและปัจจัยมากน้อยแค่ไหน ลักษณะวัดก็มีสองแบบ คือ วัดบนเขา กับวัดในเมือง ถ้าเป็นวัดบนเขา การตั้งพระพุทธรูปก็จะไล่ระดับ  ถ้าเป็นวัดในเมืองก็จะวางเป็นเส้นตรง จำนวนตำหนักเพิ่มหรือลดตามความจำเป็น พระพุทธรูปอาจเหมือนหรือแตกต่างบ้าง แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ประตูสามบาน พระอุโบสถ หอไตร และกุฏิของพระสงฆ์
 
เทพกวนอู ถือเป็นหนึ่งในเทพธรรมบาล เป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตว์จงรักภักดี บำเพ็ญตน เคยมีพระธรรมาจารย์ฝันว่า กวนอูมาหาและรับไตรสรณคมแล้ว คนจีนชอบนักรบที่มีความซื่อสัตย์จึงถือเป็นเทพที่คุ้มครองศาสนาด้วย บางวัดจะมีพระเวชโพธิสัตว์ ถือหอก ทวน ถือเป็นผู้คุ้มครองพระธรรมด้วย
 
 
พระพุทธรูป มีทั้งทำจาก ดิน ไม้ หรือ โลหะ หลักการสำคัญคือ แสดงความเมตตา กรุณา ความอลังการของพระธรรม ดังนั้นตำหนักต่าง ๆ ไม่ว่าจะสร้างด้วย ไม้ คอนกรีต หรือโลหะ ต้องอาศัยความสง่างามเป็นที่ตั้ง ภาพตกแต่งภายใน ถือเอา เรียบง่าย สบายตาเป็นที่ตั้ง และทำได้เหมาะสม
 
 



 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • การจัดหิ้งพระ
  • พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์
  • การถวายสิ่งของในพุทธศาสนา
  • แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๕
  • แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๔
  • แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๓
  • แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๒
  • แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๑
  • พุทธคีรีทั้ง ๔ ในประเทศจีน