ฮวงจุ้ย
- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
ผลงานและบทความพิเศษของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
การปั้นพระพุทธรูป
3 มี.ค. 2560
3 มี.ค. 2560
คำถาม : ในสมัยก่อน เมื่อมีการปั้นพระพุทธรูป ก็จะมีการปั้นหน้าพระพุทธรูปให้เหมือนเจ้าภาพ เพื่อเป็นการเอาใจ นัยว่าเป็นผู้มีบุญ สามารถเป็นแบบให้พระพุทธรูปได้ ในเมืองจีนนั้น รู้สึกว่า พระนางบูเช็คเทียนก็สั่งให้สลักพระพุทธรูปให้มีพระพักตร์ให้เหมือนตัวเอง และยังเคยเห็นรูปถ่ายพระนางซูสีไทเฮาที่แต่งกายเป็นเจ้าแม่กวนอิมด้วย อาจารย์มีความเห็นอย่างไร สมควรหรือไม่ครับ
ตอบ : เรื่องนี้พูดกันยาวนะคะ จริงๆ เรื่องราวของพระอริยะ เราไม่ควรจะเอามาตั้งชื่อ เป็นชื่อของสัตว์หรือพืช เช่น ปลาอรหันต์ หญ้าพระพุทธ ในความเป็นพระอริยะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ควรนำมาตั้งชื่อ ถึงแม้จะอยากให้เป็นมงคลหรือตัดไม้ข่มนามก็ตาม เราตั้งชื่อให้เป็นมงคลนามได้ แต่พระรัตนตรัยอย่าไปแตะ จะกลายเป็นการปรามาส
การปั้นพระพักตร์พระพุทธรูปให้เหมือนหน้าตัวเอง ก็ต้องดูก่อนว่าเป็นใคร สมัยก่อนมีความเชื่อทั้งในจีนและพม่าว่า กษัตริย์ต้องเป็นพระโพธิสัตว์ เพราะว่าเสียสละทั้งชีวิตทำเพื่อประชาชน ทำเพื่อคนอื่นมากกว่าทำเพื่อตัวเอง และมีศักด์ตำแหน่งฐานันดรสูง แบบนี้ปั้นเป็นหน้าพระโพธิสัตว์ก็ได้ แต่ถ้าปั้นเป็นพระพักตร์พระพุทธรูป จะต้องยิ่งใหญ่เป็นพระจักรพรรดินี แบบนี้พอได้
เรามาดูประวัติของพระนางบูเช็คเทียน สุสานของพระนาง มีป้ายจารึกอันว่างเปล่า เป็นการบอกว่า ใครอยากมาเขียนความดีหรือความเลวของข้า ข้ายอมที่จะเปิดเผยให้โลกรู้ ให้ทุกคนได้เขียนอย่างยุติธรรมที่สุด แสดงให้เห็นว่า ตลอดชีวิตของพระนาง ไม่ได้ทำอะไรที่ไม่ได้เกิดประโยชน์แก่แผ่นดินเลย คือมีคุณูปการแก่แผ่นดินถังเป็นอย่างมาก รักษา ทะนุบำรุงแผ่นดิน ทำแต่คุณงามความดี เทียบเท่าพระโพธิสัตว์ ถ้าพระนางบูเช็คเทียนมีความมั่นใจว่า ตนเองเป็นดั่งพระโพธิสัตว์ที่มาโปรด หรือรู้ด้วยพระองค์เองว่า ปราถนาพระโพธิญาณอยู่ ก็สั่งสลักพระพุทธรูปให้มีพระพักตร์เหมือนพระนางได้
กรณีแบบนี้ คนทั่วไปทำไม่ได้ ยกตัวอย่าง กรณีพระอุปคุตกับพระยามาร พระอุปคุต เป็นอนุพุทธ เกิดในสมัยพระเจ้าอโศก 300 ปีหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอุปคุตอยากเห็นพระพุทธเจ้ามาก ถึงแม้เห็นในนิมิต ก็ไม่เท่ากับที่พระยามารเคยเห็น จึงขอให้พระยามารแสดงเป็นพระพุทธเจ้า พระยามารบอกว่า ถึงแม้ตัวเองเป็นผู้ปราถนาพุทธภูมิ แต่บารมียังน้อยมาก ถ้าแสดงแล้วอย่าไหว้ แต่พอพระยามารแสดงแล้ว พระอุปคุต ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า ก็อดไม่ได้ที่จะไหว้ ทำให้พระยามารต้องยืดชาติของการบำเพ็ญบารมีออกไปอีกยาวนาน เพราะถือเป็นการปรามาส อันนี้เป็นแบบอย่างว่า พระนางบูเช็คเทียนมั่นใจหรือยังว่า ตนมีบารมีสูงมาก หรือเป็นชาติสุดท้าย หรือเป็นพระโพธิสัตว์ปราถนาพระโพธิญาณ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยืดการบำเพ็ญบารมีออกไปอีกเหมือนพระยามาร
ส่วนพระนางซูสีไทเฮาที่แต่งกายเป็นเจ้าแม่กวนอิม ก็ต้องดูว่าพฤติกรรมของซูสีไทเฮาละม้ายแม้นเหมือนดั่งพระโพธิสัตว์ที่โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยความเมตตาหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ก็เป็นการปรามาส