ฮวงจุ้ย
- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
ผลงานและบทความพิเศษของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์
6 มิ.ย. 2560
6 มิ.ย. 2560
ถาม : พระพุทธที่เราเห็นในวัดจีนหรือวัดญวนใช่พระพุทธเจ้าหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เห็น ๓ องค์เรียงกัน และพระกวนอิม ทำไมมีแต่ในจีน ในตำราพุทธบ้านเราหรือพระไตรปิฎกไม่เห็นพูดถึง
ตอบ : พระพุทธศาสนา ในเรื่องราวของพระพุทธองค์เป็นการสอนธรรมะแบบละนิวรณ์ ไม่ต้องฟุ้งซ่าน ไม่ต้องแยกแยะ ไม่ต้องสงสัย ปฎิบัติมุ่งตรงสู่หนทางสิ้นอาสวะกิเลส ใช้ปัญญาในการปฎิบัติ และมีแนวทางปฎิบัติต่างๆ กัน ไม่ได้เน้นไปถึงพระโพธิสัตว์ ถ้าจะเป็นเรื่องพระโพธิสัตว์ จะเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้น คือในเรื่องนิทานชาดก คือการปราถนาโพธิญาณ เพื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล เป็นการบำเพ็ญบารมีโดยได้รับพุทธทำนายจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว
ส่วนคำถามว่า พระโพธิสัตว์ พระกวนอิม มาจากไหน ในพุทธศาสนา มหายาน คำว่า “มหายาน” คือนำพาสัตว์ทั้งหลายให้ปลอดภัยในเรือลำใหญ่ ส่วน “หินยาน” นำพาตนเองให้ปลอดภัยจากวัฎสงสาร คือเฉพาะตน คือเดินตามรอยที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ เรียกว่าเป็น สาวกภูมิ ส่วนมหายาน หมายความว่า ความเป็นพระโพธิสัตว์ที่ช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ปลอดภัย ส่งสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เข้าถึงธรรมของพระพุทธองค์ได้โดยง่าย อันนี้คือพระโพธิสัตว์แบบพระกวนอิม พระสมันตภัทร พระมัญชุศรี และอีกหลายๆ องค์ในประเทศจีน
เนื่องจากเดิมในประเทศจีนยังมีความลำบาก มีความทุกข์อยู่มาก การที่จะให้ปฎิบัติธรรมในทันที ก็เป็นการยาก พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงอธิฐานจิตลงมาช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ผ่อนคลายทุกข์เวทนาด้วยอุบายวิธีต่างๆ เช่น ในช่วงที่อดอยาก อาหารขาดแคลน ก็ชักชวนให้กินผักกันดีไหม เพราะบำรุงสุขภาพ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ได้ทั้งศีล ได้ทั้งธรรม สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข อย่างสันโดษได้ด้วย สอนให้ทำจิตให้ว่างและวาง เมื่อจิตของคนทั้งหลายเริ่มคลายทุกข์ ก็มีเวลาที่จะฟังธรรม เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้โดยง่าย คือเริ่มต้นจากศูนย์ เมื่อจิตพร้อม ก็เข้าสู่สาวกภูมิ จึงมีคำกล่าวของพระกวนอิมว่า “หากสรรพสัตว์ยังไม่พ้นภัย เรายังไม่ไปนิพพาน” พระโพธิสัตว์ที่ช่วยแบบนี้จะต้องเจอทุกข์ทุกรูปแบบ และหาวิธีคลายทุกข์ให้กับตนเอง เพื่อนำไปสอนสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ในมหายานจะมีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ จะรวมพระปัจเจกพุทธเจ้าไปด้วย เพราะท้ายสุด พระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่ส่งสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เข้าถึงธรรม เข้าถึงสาวกภูมิ ท้ายที่สุดก็จะสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงมีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ ที่ทางจีนเรียกว่า พระพุทธเจ้าตะวันตก ส่วนพระพุทธเจ้าตะวันออก หมายถึงพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ผินพระพักตร์ไปทิศตะวันออก เป็นพระบรมศาสดา ส่วนพระพุทธเจ้าตะวันตก คือผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ส่งสรรพสัตว์ให้พ้นภัย แล้วจึงบรรลุธรรม ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ส่วนพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์เรียงกัน คือมี ๓ ภาค คือ
ภาคที่อยู่ข้างบน เรียกว่า สัมโภคกาย คือกายที่อยู่บนสวรรค์ แดนอมิตภะ เตรียมพร้อมที่จะลงมาสอนสรรพสัตว์ทั้งหลาย
นิรมานกาย คือกายเนื้อที่ปรากฎบนโลก
อีกองค์คือตรีธรรมหรือธรรมกาย คือ กายที่ได้ธรรมแล้ว ตรัสรู้แล้ว
คำว่า อมิตาภะ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระสูภูติ ว่า ในสิบกัปป์ที่แล้ว มีพระโพธิสัตว์ได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ตอนก่อนที่จะบรรลุ ได้ขอพรว่า จะขอดินแดนหนึ่ง ให้เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่เตรียมจะลงมาโปรดสัตว์ อยู่ชั้นเดียวกับชั้นสุธาวาส เป็นชั้นเดียวกับพระอนาคามีนั่นเอง เรียกว่าแดนอมิตาภะตามชื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แปลว่า ดินแดนแห่งแสงสว่าง แสงสีทอง เมื่อเราเอยนามว่า อมิตาภะ หรือ อมิตาพุทธ เท่ากับการภาวนาว่า พุทโธ นั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
การจัดหิ้งพระ การถวายสิ่งของในพุทธศาสนา แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๖ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๕ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๔ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๓ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๒ แนะนำเกี่ยวกับแผนผังวัด,ตำหนักเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าและห้องต่าง ๆ ในวัดแบบมหายาน ตอนที่ ๑ พุทธคีรีทั้ง ๔ ในประเทศจีน